ความหมายของภูมิปัญญา / ปราชญ์ชาวบ้าน
ภูมิปัญญา หรือ Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ที่นำมาไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของมนุษย์ หรือ ภูมิปัญญา คือ พื้นความรู้ของปวงชนในสังคมนั้น ๆ และปวงชนในสังคมยอมรับรู้ เชื่อถือ เข้าใจ ร่วมกัน เรียกว่า ภูมิปัญญา
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการ สั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญญาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย ภูมิปัญญาไทยนี้มีลักษณะเป็นองค์รวม มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นในวิถีชีวิตไทย ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจเป็นที่มาขององค์ความรู้ที่งอกงามขึ้นใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการและการปรับตัวในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย ลักษณะองค์รวมของภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้านเช่น ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณะและภูมิปัญญา
ภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น (Folk Wisdom) ได้มีผู้ความหมายดังนี้ กระทรวงศึกษาธิการ (2539 : 2) หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนเราผ่านกระบวนการศึกษา สังเกตคิดวิเคราะห์จนเกิดปัญญา และตกผลึกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง ความรู้ดังกล่าวไม่ได้แยกย่อยออกมาเป็นศาสตร์ เฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ อาจกล่าวไว้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการ แลการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในการตัวของผู้รู้เอง หากมีการสืบค้นหาเพื่อศึกษา และนำมาใช้ก็จะเป็นที่รู้จักกันเกิดการยอมรับ ถ่ายทอด และพัฒนาไปสู่คนรุ่นใหม่ตามยุคตามสมัยได้
หลักคิดและวิถีชีวิตของปราชญ์ เป็นสิ่งที่คนในยุคสมัยนี้ ควรได้เรียนรู้ และนำไปเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญา วิธีการในการทำงาน สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในระดับบุคคลและชุมชนได้เป็นอย่างดี การแก้ปัญหา ไม่ว่าเป็นปัญหาความยากจน หรือปัญหาอะไรก็ตาม ที่เรากำลังเผชิญอยู่ ต้องใช้ปัญญา มีความรู้ความเข้าใจกับสิ่งนั้น และมีวิธีการ ความสามารถในการบริหารจัดการ ข้อเสนอที่ผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิตของปราชญ์ชาวบ้าน เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญา ที่ต้องนำมาใช้ในการพัฒนาสังคมไทย จึงจะสามารถฝ่าวิกฤตการณ์ทุกอย่าง ที่เรากำลังเผชิญอยู่ได้
ดาวโหลดไฟล์
- รวมเล่ม
- นายสุทธิ เหล่าฤทธิ์ ปราชญ์ด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- นายทองอินทร์ คงชัย ปราชญ์ด้านศิลปะหัตกรรมเครื่องปั้นดินเผา (ปั้นเตา)
- นางสุกานดา ตั้งใจ ปราชญ์ด้านการจัดการขยะรีไซเคิล
- นางสาคร บุตรศรีภูมิ ปราชญ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร(การทำลูกประคบ)
- นางเกษร ยิ้มนิรัน ปราชญ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร (การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น)
- นายชวโรจน์ บุญเสริม ปราชญ์ด้านเกษตรกรรมการทำปุ๋ยชีวภาพ(ปุ๋ยหมักจากจอมปลวก)
- นายตี๋ มังสุก ปราชญ์ด้านการประดิษฐ์ขยะรีไซเคิล